Knowledge Intermediate

แนวรับ (Support) – แนวต้าน (Resistance) เทคนิคสำคัญในการเทรด Forex และทองคำ ให้ประสบความสำเร็จ

แนวรับและแนวต้านเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ใช้มากที่สุดในการวิเคราะห์ทางเทคนิค เป็นตัวช่วยให้เทรดเดอร์ระบุทิศทางของตลาดโดยการชี้ข้อมูลราคาแนวรับแนวต้าน และช่วยให้เทรดเดอร์ทราบว่าจุดไหนควรเข้าซื้อหรือจุดที่ไหนที่ควรขาย  ในบทความนี้จะอธิบายว่าแนวรับและแนวต้านคืออะไร ความสำคัญรวมไปถึงกลยุทธ์การซื้อขายแนวรับและแนวต้าน

แนวรับ-แนวต้าน คืออะไร?

คือ แนวหรือกรอบราคาที่มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคา เมื่อมีการวิ่งมาถึงจะเกิด Reaction ไม่ว่าจะเป็นแรงขาย หรือแรงซื้อ เทรดเดอร์มักจะใช้โซนราคานี้เพื่อแลกเปลี่ยนสถานะการซื้อขาย (Transaction) นอกจากนี้ยังใช้ในการวิเคราะห์กราฟอย่างรวดเร็วเพื่อกำหนดจุดที่น่าสนใจ ได้แก่ ทิศทางของตลาด เวลาเข้าสู่ตลาด หรือการสร้างจุดเพื่อออกจากตลาดทั้งกำไรและขาดทุน เทรดเดอร์สามารถระบุพื้นที่แนวรับและแนวต้านบนกราฟได้โดยใช้ trendlines และ moving averages

การเข้าเทรดที่ แนวรับ-แนวต้าน จะส่งผลต่อการเทรด หากเทรดเดอร์สามารถเข้าเทรดได้ถูกจุดมันจะกลายเป็นต้นทุนที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมความเสี่ยงได้อีกด้วย

ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการซื้อขายในรูปแบบแนวรับและแนวต้าน

– แนวรับและแนวต้านเป็นเสาหลักที่ทรงพลังในการซื้อขาย ซึ่งอาจจะใช้เป็นกลยุทธ์แนวรับและแนวต้านจริงๆ กล่าวคือคาดการณ์ว่าราคาจะมาถึงจุดกรอบราคาที่ตั้งไว้และไม่ทะลุผ่านไป (range bound strategy) หรือใช้เป็นกลยุทธ์ทะลุแนวรับแนวต้าน กล่าวคือคาดการณ์ว่าราคาจะทะลุแนวรับหรือแนวต้านออกไป (Breakout and pullback strategies)

– ควรตั้งแนวรับและแนวต้านให้ชัดเจน เทรดเดอร์จำเป็นต้องปรับใช้การจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมเพื่อจำกัดการขาดทุนหากมีการขาดทุนเกิดขึ้น 

ความสำคัญของแนวรับแนวต้าน

– แนวรับ-แนวต้าน มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคา เพราะเป็นระดับที่มีการแลกเปลี่ยนสถานะการซื้อขายในปริมาณค่อนข้างสูง เป็นตัวสะท้อนระดับ Demand & Supply ได้อย่างดี 

– สามารถใช้หาจุดในการเปิดราคาที่ดีทั้งได้ Long และ Short ทำให้เทรดเดอร์เห็นว่าควรเข้าเทรดตอนไหนและโซนไหนมีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวขึ้นหรือลง 

– เห็นถึงรูปแบบการเคลื่อนที่ของราคาว่าไปในทิศทางไหน มองเห็นกรอบราคาของการวิ่งไปได้อย่างชัดเจนจากการลากทั้งเส้นแนวรับและเส้นแนวต้านควบคู่กันไปพร้อมๆ กัน

– สามารถใช้ประกอบคู่กับวิธีการเทรดรูปแบบอื่นเพื่อหาจังหวะในการเข้าเทรด

แนวรับ (Support)

แนวรับคือระดับราคาที่เทรดเดอร์คาดว่าจะไม่ลดลงไปกว่านี้ เป็นแนวของราคาที่เมื่อมีแรงขายวิ่งมาถึงจุดหนึ่งแล้วจะเกิดแรงซื้อเข้ามารับราคาไว้ไม่ให้าราคาต่ำลงไปอีก 

ตามทฤษฎีแล้ว แนวรับคือระดับราคาที่อุปสงค์ (กำลังซื้อ) แข็งแกร่งพอที่จะป้องกันไม่ให้ราคาลดลง เมื่อราคาเข้าใกล้แนวรับมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีราคาถูกลง ผู้ซื้อเห็นว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่จะซื้อมากขึ้น ผู้ขายมีโอกาสขายน้อยลงเนื่องจากราคาแย่ลง ในสถานการณ์นั้น อุปสงค์ (ผู้ซื้อ) จะเอาชนะอุปทาน (ผู้ขาย) และนั่นจะห้ามราคาไม่ให้ต่ำกว่าแนวรับ

วิธีตีเส้นแนวรับ จะตีเป็นเส้นแนวนอนใต้แท่งราคา หากราคาลงมาถึงแนวรับที่ตีไว้แล้วไม่สามารถรับได้ ราคาก็จะทะลุลงต่อ แต่ถ้ารับได้ราคาก็จะเด้งกลับขึ้นไป

แหล่งที่มา : https://tradersir.com/support-resistance-indicator/

โซนแนวรับ (Support Zone)

โซนแนวรับจะใช้สำหรับการเทรดในกรอบเวลา (timeframe) ในระยะยาว เมื่อราคาไม่สามารถเด้งกลับจากจุดแนวรับหนึ่งๆ ได้ เทรดเดอร์อาจจะใช้จุดแนวรับที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งก่อนหน้าเป็นแนวรับต่อไป ทำให้จุดแนวรับหลายจุดจนกลายเป็น “โซนแนวรับ” 

แนวต้าน (Resistance)

แนวต้านคือระดับราคาที่เทรดเดอร์คาดว่าจะไม่เพิ่มขึ้น เป็นแนวของราคาที่เมื่อมีแรงซื้อวิ่งมาถึงจุดหนึ่งแล้วจะเกิดแรงขายเข้ามาต้านราคาไว้ไม่ให้ขึ้นไปกว่านี้ 

แนวต้านเป็นระดับราคาที่อุปทาน (ขาย) แข็งแกร่งพอที่จะป้องกันไม่ให้ราคาเพิ่มขึ้นอีก เหตุผลคือเมื่อราคาเข้าใกล้แนวต้านมากขึ้นเรื่อย ๆ จะมีราคาที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ขายก็มีแนวโน้มที่จะขายมากขึ้นและผู้ซื้อก็มีแนวโน้มจะซื้อน้อยลง 

วิธีตีแนวต้าน จะตีเป็นเส้นแนวนอนอยู่เหนือแท่งราคา หากราคาขึ้นมาถึงแนวต้านที่ตีไว้แล้วไม่สามารถผ่านไปได้ราคาก็จะกลับลงมา แต่ถ้าไปต่อได้ราคาก็จะขึ้นไปต่อ

แหล่งที่มา : https://tradersir.com/support-resistance-indicator/

โซนแนวต้าน (Resistance Zone)

ตรงกันข้ามกับโซนแนวรับ สามารถดูการกระจุกตัวของจุดแนวต้านหลายๆ จุดในบริเวณหนึ่งๆ รวมถึงการย้ายตำแหน่งการกลับตัวที่จะก่อให้เกิดโซนแนวต้านในที่สุด

Note:

แนวรับสามารถกลายเป็นแนวต้านได้ ! บ่อยครั้ง พื้นที่แนวรับแปรเปลี่ยนเป็นแนวต้านได้หากความเชื่อมั่นเปลี่ยนเป็นบวก เช่นเดียวกันแนวต้านเดิมก็สามารถกลายเป็นแนวรับใหม่ได้

นอกจากนี้ เมื่อราคามาถึงแนวรับหรือแนวต้าน ราคาสามารถเด้งออกจากเส้นหรือทะลุผ่านได้ เมื่อราคาทะลุผ่าน บทบาทของเส้นทั้งสองจะกลับตัว ถ้าราคาเป็นแนวรับ ตอนนี้จะกลายเป็นแนวต้าน และถ้าเป็นแนวต้าน ตอนนี้จะกลายเป็นแนวรับ

เทรดเดอร์สามารถวางแผนกลยุทธ์หลังจากการกลับตัวของราคา พฤติกรรมนี้มีประโยชน์เป็นอย่างมาก เมื่อดูแนวโน้มก่อนหน้านี้ คุณจะได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

วิธีการดูแนวรับ – แนวต้าน

– ดูจากระดับ High และ Low โดยแนวรับคือบริเวณช่วง Low ของรอบการแกว่งตัวของราคา แนวต้านคือบริเวณช่วง High ของรอบการแกว่งตัวของราคา

– ดูที่กรอบการแกว่งตัว (Trading Range) เป็นช่วงที่ราคาแกว่งตัวในกรอบคู่ขนาน กรอบบน สามารถบ่งชี้ถึงแนวต้าน ส่วนกรอบล่างบ่งชี้ถึงแนวรับ ถ้าราคาทะลุกรอบบน (แนวต้าน) หมายถึงแรงซื้อชนะ ถ้าราคาทะลุกรอบล่าง (แนวรับ) หมายถึงแรงขายชนะ

– ใช้โซนราคา เป็นตัวอ้างอิงแนวรับแนวต้าน โดยใช้บริเวณราคาที่มีการเด้งกลับหรือย่อตัวลงของราคาเมื่อมีการเคลื่อนที่ไปที่บริเวณนั้นๆ

– เลือกใช้กรอบเวลาที่เหมาะสมกับระบบเทรดนั้น ๆ เป็นสิ่งสำคัญในการหาแนวรับแนวต้านเป็นอย่างมาก โดยทั่วไปแนวรับแนวต้านในกรอบเวลาที่ใหญ่กว่าจะมีนัยสำคัญที่มากกว่า

แหล่งที่มา https://www.lucid-trader.com/support-and-resistance/

เทคนิคการใช้ แนวรับและแนวต้าน

การเทรดในกรอบ (Trading Range)

เป็นการซื้อขายที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างแนวรับและแนวต้าน ราคามีการเคลื่อนไหวในกรอบซึ่งอาจเป็นได้ทั้งกรอบแนวรับแนวต้านทั่วไป และกรอบที่มีลักษณะเป็นรูปแบบอื่น ๆ เช่น รูปแบบสามเหลี่ยม (Triangle) หรือแบบธง (Flag) 

เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์นี้ ส่วนมากจะมีการซื้อที่แนวรับ-ขายที่แนวต้าน ที่ต้องระวังคือ ระดับแนวรับและแนวต้านไม่ใช่เส้นที่สมบูรณ์แบบเสมอไป บางครั้งราคาจะเด้งออกจากพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แทนที่จะเป็นเส้นตรงที่สมบูรณ์แบบ เทรดเดอร์จำเป็นต้องระบุช่วงการซื้อขาย 

กลยุทธ์เทรดเมื่อราคาเบรคเอาท์ (Breakout)

เป็นรูปแบบที่มาจากการแกว่งตัวของราคาในกรอบ  และการเปลี่ยนแนวโน้มอย่างรุนแรงจนทะลุผ่านแนวรับหรือแนวต้าน การเบรคเอาท์ของราคาขาขึ้นทำได้ด้วยการซื้อ เมื่อราคาทะลุผ่านแนวต้าน หรือซื้อเมื่อราคาตกกลับมาทดสอบแนวรับใหม่แล้วไม่หลุดกลับลงไป

ส่วนเบรคเอาท์ของราคาขาลง จะเกิดขึ้นหลังมีการทดสอบแนวรับหลายครั้งจนถูกมองว่าเป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง เทรดเดอร์สามารถใช้กลยุทธ์นี้ทำการ ขาย เมื่อราคาหลุดแนวรับ หรือ ขาย เมื่อราคารีบาวน์กลับมาทดสอบแนวต้านใหม่

กลยุทธ์ Trendline

เป็นการใช้เส้นแนวโน้มเป็นแนวรับหรือแนวต้าน เพียงแค่ลากเส้นเชื่อมระหว่างจุดสูงสุดสองจุดขึ้นไปในเทรนด์ขาลง หรือจุดต่ำสุดสองจุดขึ้นไปในเทรนด์ขาขึ้น ในแนวโน้มที่แข็งแกร่ง ราคาจะเด้งออกจากเส้นแนวโน้มและเคลื่อนตัวต่อไปยังทิศทางของแนวโน้ม ดังนั้น เทรดเดอร์ควรมองหาทิศทางการเทรดทั้งหมดของเส้นแนวโน้ม เพื่อความเป็นไปได้ในการเทรดมากที่สุด

แนวรับและแนวต้านโดยใช้ค่า Moving Averages

เทรดเดอร์หลายๆ ท่านใช้ moving averages เป็นแนวรับและแนวต้าน เพื่อช่วยในการทำนายโมเมนตัมระยะสั้นในอนาคต เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) เกิดจากการนำราคาปิดย้อนหลังมาหาค่าเฉลี่ยตามช่วงเวลาที่เลือก เช่น เส้นค่าเฉลี่ย 5 ของกราฟรายวัน จะหมายถึงค่าเฉลี่ยของราคาย้อนหลัง 5 วัน ซึ่งเทรดเดอร์สามารถมองคร่าว ๆ ได้ว่าเป็นรูปแบบการซื้อขายในช่วง 5 วันที่ผ่านมาเป็นอย่างไร 

เทรดเดอร์สามารถใช้เส้นค่า moving averages ได้หลายวิธี เช่น เพื่อคาดการณ์การเคลื่อนที่ไปด้านบนเมื่อเส้นราคาข้ามเหนือเส้น moving averages หลัก หรือเพื่อออกจากการซื้อขายเมื่อราคาลดลงต่ำกว่าเส้น moving averages เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะทดลองกับช่วงเวลาต่างๆ ใน moving averages เพื่อให้สามารถหาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกรอบเวลาการซื้อขายของตน

เทรดโดยการใช้การกลับตัวของ แนวรับและแนวต้าน

แนวรับบางครั้งจะกลายเป็นแนวต้านเมื่อราคาพยายามกลับขึ้นไป และในทางกลับกัน ระดับแนวต้านจะกลายเป็นแนวรับเมื่อราคาถอยกลับชั่วคราว

สรุป

การวิเคราะห์โดยแนวรับ และ แนวต้าน ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญและจำเป็นอย่างมากในการวิเคราะห์กราฟ เป็นการหาจังหวะในการเข้าเทรดไปพร้อมกับการควบคุมความเสี่ยง ช่วยให้เทรดเดอร์มีโอกาสที่จะลงทุนอย่างแม่นยำมากขึ้น อย่างไรก็ตามเทรดเดอร์ยังต้องอาศัยความรู้และการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญมากยิ่งขึ้น ก่อนจะลงทุนกับสินทรัพย์ใดๆ 

*การซื้อขายและลงทุนใน Forex และ CFD มีความเสี่ยงสูง อาจทำให้สูญเสียมากกว่าเงินทุนทั้งหมด

thailand

Recent Posts

ประกาศเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายประจำเดือนมกราคม

เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ โปรดตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ตามวันหยุดประจำเดือนมกราคม โปรดดูตารางด้านล่างสำหรับตราสารอนุพันธ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง: วันที่ 9 มกราคม 2025 (วันพฤหัส) 20 มกราคม 2025 (วันจันทร์) 24 มกราคม 2025…

4 days ago

ประกาศเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายประจำเดือนธันวาคมและมกราคม (2025)

เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ โปรดตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ตามวันหยุดประจำเดือนธันวาคมและมกราคม โปรดดูตารางด้านล่างสำหรับตราสารอนุพันธ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง: วันที่ 30 ธันวาคม 2024 (วันจันทร์) 31 ธันวาคม 2024 (วันอังคาร) 1 มกราคม 2025…

2 weeks ago

(อัปเดต)ประกาศเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายประจำเดือนธันวาคม

เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ โปรดตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ตามวันหยุดประจำเดือนธันวาคม โปรดดูตารางด้านล่างสำหรับตราสารอนุพันธ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง: วันที่ 24 ธันวาคม 2024 (วันอังคาร) 25 ธันวาคม 2024 (วันพุธ) 26 ธันวาคม 2024…

3 weeks ago

ประกาศเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายประจำเดือนธันวาคม

เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ โปรดตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ตามวันหยุดประจำเดือนธันวาคม โปรดดูตารางด้านล่างสำหรับตราสารอนุพันธ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง วันที่ 16 ธันวาคม 2024 (วันจันทร์) 23 ธันวาคม 2024 (วันจันทร์) วันหยุด วันแห่งการปรองดอง คริสต์มาสอีฟ…

4 weeks ago

Announcement on Recent Gold Spread Fluctuations

Dear Valued Clients, The global gold market has experienced significant volatility recently, with market liquidity…

1 month ago

(อัปเดต)แจ้งเตือนการโรลโอเวอร์ประจำเดือนธันวาคม

เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ ขอเรียนให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ซื้อขาย CFD ต่อไปนี้จะโรลโอเวอร์อัตโนมัติตามวันที่ระบุไว้ในตารางด้านล่างนี้ เนื่องจากอาจมีความแตกต่างของราคาระหว่างสัญญาเก่าและใหม่ จึงขอแนะนำให้ลูกค้าตรวจสอบและจัดการโพสิชันของคุณตามความเหมาะสม วันหมดอายุ: สัญลักษณ์ คำอธิบาย วันที่ JPN225ft Japan 225 Index Future…

1 month ago